Leaf

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 18
วันที่ 30 พฤศจิกายน


วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสสุดท้ายในรายวิชานี้อาจารย์ได้เรียกเก็บตราปั๊มและแจกรางวัลเด็กดี


บันทึกการเรียนครั้งที่ 17
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559

เนื้อหาที่เรียน

วันนี้กลุ่มของพวกเราได้ลงสถานที่จริงเพื่อการจัดโครงการนิทานสานรัก ณ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ














การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
การจัดโครงการในครั้งนี้เราได้ลงมือปฏิบัติจริงให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องต่างๆและได้ช่วยเหลือคุณแม่ในการประดิษฐ์หุ่นมือซึ่งได้เรียนรู้ลักษณะนิสัยของเด็กๆที่มีความต้องการพิเศษทั้งการรับมือและการเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ต่างกัน

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 

เนื้อหาที่เรียน

โครงการนิทานสานรัก 


หลักการและเหตุผล

                การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็ก ทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและ ผ่อนคลายอารมณ์สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็ก เด็กมักจะรบเร้า เรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวัน แม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม การเล่านิทานให้เด็กฟังไม่ใช่เล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกและ ตลกขบขัน แต่ยังช่วยสร้างสรรค์จินตนาการ ความคิด ความเข้าใจ ความฝันและการรับรู้ให้กับเด็ก ตัวละครแต่ละตัว ในนิทานจะสร้างจินตนาการในสมองเด็ก การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กในการสร้างเสริมเด็กได้ในทุกเรื่องรวมถึงการสร้างนิสัยรักการอ่าน อีกทั้งยังช่วยส่ง เสริมพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เกิดกับเด็กได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กจำเป็นต้องให้ผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยกระตุ้น ให้เด็กมีพัฒนาการ ตามวัยได้อย่างสมบูรณ์ จึงจัดโครงการ สานรักจากนิทานขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องของการเล่านิทาน เทคนิคการเล่านิทาน ประเภทของหนังสือนิทาน และวิธีการทำสื่อเพื่อเล่านิทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ปกครองในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ในรายวิชา EAED3210 Parent Education for Early Childhood การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จึงได้กำหนดให้นักศึกษาได้มีโอกาสจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาตามความสนใจ ภายใต้ชื่อ “โครงการสานรักจากนิทาน” เพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเรื่องการเล่านิทาน

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครองรู้เกี่ยวกับหนังสือนิทาน และเทคนิคการเล่านิทาน
          2. เพื่อให้ผู้ปกครองรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้กับบุตรหลานที่บ้านได้
          3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจวิธีการประดิษฐ์หุ่นมือสำหรับประกอบการเล่านิทาน


เนื้อหา/หลักสูตร

โครงการ นิทานสานรัก เป็นโครงการที่ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้

1.หนังสือเล่มสำหรับเด็ก
2.หนังสือเด็กในปัจจุบัน
3.หนังสือเด็กในประเทศไทย
4.ลักษณะหนังสือที่เด็กชอบ
5.จุดมุ่งหมายของหนังสือสำหรับเด็ก
6.เทคนิคการเล่านิทานการเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
7.การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
8.เทคนิคการเล่านิทาน เพื่อให้เด็กได้เพลิดเพลินและมีความสุข


เป้าหมาย

เชิงปริมาณ  : ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จำนวน 10 คน
เชิงคุณภาพ : ผู้ปกครองมีความรู้ สามารถนำเทคนิคการเล่านิทานไปใช้ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ถูกต้อง

วันเวลาและสถานที่จัดสัมมนา

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

รูปแบบการจัดโครงการ/เทคนิค
     
โครงการ นิทานสานรัก เป็นโครงการที่ให้ความรู้ผู้ปกครอง ในรูปแบบการบรรยายเชิงปฏิบัติการ โดยใช้เทคนิค การบรรยายเรื่องหนังสือนิทาน การเล่านิทาน เทคนิคการเล่านิทาน และสาธิตการประดิษฐ์หุ่นมือ

 แผนการดำเนินงาน


งบประมาณ                     1700 บาท

          ค่าใช้สอย                                                         900 บาท

                   - ค่าเดินทาง                                            600 บาท
                   - ค่าอาหารว่าง                                         300 บาท

          ค่าวัสดุ                800 บาท

                   - ค่าอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม                      500 บาท
                   - ค่าของรางวัล                                          100 บาท
                   - ค่าของที่ระลึกสำหรับสถานที่จัดทำโครงการ    200 บาท                     
                                                                                                      

   ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          1. ผู้ปกครองรู้และเข้าใจเทคนิคการเล่านิทาน
          2. ผู้ปกครองรู้และเข้าใจการเลือกหนังสือสำหรับลูกได้อย่างเหมาะสม
          3. ผู้ปกครองเข้าใจวิธีการประดิษฐ์หุ่นมือ

การติดตามและดำเนินโครงการ

1. แบบประเมินความพึงพอใจ

2. แบบประเมินสะท้อนตนเอง


ผู้รับผิดชอบโครงการการเตรียมงาน
1.       นางสาวสุรีย์พร สมจิตร                     ประธาน
2.       นางสาวสุริยาพร กลั่นบิดา                 กรรมการ                  
3.       นางสาวศิริวรรณ สุวรรณสาร               กรรมการ
4.       นางสาวพัชชา สังข์ทอง                   กรรมการ
5.       นางสาวสิริรัตน์ บัวแป้น                    กรรมการ
6.       นางสาวธิดารัตน์ สวัยษร                   กรรมการ
7.       นางสาวปรียานุช ปานกลาง                กรรมการ
8.       นางสาวพัชรภรณ์ บุญใจ                   กรรมการ
9.       นางสาวณัฐณิชา พุทธรักษา               กรรมการ
10.   นางสาวภัทรวรรณ นิยมพงษ์                 กรรมการ
11.   นางสาวนรากุล ธรรมชาติ                    กรรมการ
12.   นางสาวธารารัตน์ โพธิ์ประสาท              กรรมการและเลขานุการ

  
 
นิภาพร มุ่งสูงเนิน.(2556).นิทานการเล่าเรื่องสำหรับเด็กปฐมวัย.
       [Online]. Available :https://www.mungsungnoen.blogspot.com. [2556, มกราคม28]

arphawansopontammarak. (2557).หุ่น (นิ้วมือ) เล่าเรื่อง.
       [Online]. Available :https:// www.thaihealth.or.th.[2556, กันยายน11]

เทคนิคการเล่านิทาน. (2557). [Online]. Available :
        http://courseware.payap.ac.th/docu/th402/2%20information/b5p1.htm.
        [2557, พฤศจิกายน 01]

วิริยะ  สิริสิงห. (2524).การเขียนเรื่องสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

โครงการนิทานสานรักนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนหรือการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้หลากหลายและสามารถนำเทคนกต่างๆที่แตกต่างจากโครงการนี้ใส่ให้ตัวกิจกรรมมีความสนใจขึ้นได้

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559

เนื้อหาที่เรียน

ประชุมปรับปรุงแก้ไขโครงการนิทาน

เนื้อหาความรู้ของโครงการ

เนื้อหาเกี่ยวกับ

  • หนังสือนิทาน
  • หนังสือเล่มสำหรับเด็ก
  • การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
  • ลักษณะหนังสือที่เด็กชอบ 


กิจกรรม

  • การให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับหนังสือและการเล่านิทาน
  • สาธิตและสอนผู้ปกครองในการประดิษฐ์หุ่นมือการดาษ

สถานที่จัดกิจกรรม

  • มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ






การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application
สามารถนำเอาความรู้จากคำแนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้ในจุดบกพร่องของโครงการนิทานสานรัก

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%
บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559

เนื้อหาที่เรียน

ประชุมเกี่ยวกับการทำโครงการของกลุ่ม เรื่องโครงการนิทานสานรัก


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

สามารถนำคำแนะนำจากอาจารย์ไปปรับใช้ในการดำเนินการในการทำโครงการนิทานสานรักได้

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%
บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันที่ 31ตุลาคม 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน


วิเคราะห์แบบสอบถามผู้ปกครองและให้ตัวแทนออกไปเล่าวิธีการดำเนินการใช้แบบสอบถาผู้ปกครองนั้นมีปัญหาอะไรหรือไม่

การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

สามารถรู้จักการวิธีวิเคราะห์หัวข้อที่ที่ผู้ปกครองต้องการรู้มากที่สุด

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันที่ 24 ตุลาคม 2559

งดการเรียนการสอน เนื่องจากวันปิยะมหาราช
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันที่ 17 ตุลาคม 2559

เนื้อหาที่เรียน

วันนี้ได้แบ่งหน้าที่กันให้เพื่อนๆนำแบบสอบถามให้ผู้ปกครองในชุมชนที่บ้านของตนเองอยู่ทำการประเมินความต้องการในเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย

การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

เรียนรู้การพูดคุยกับผู้ปกครอง

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันที่ 10 ตุลาคม 2559


ชื่อโครงการ: เป็นสิ่งที่บ่งบอกให้ทราบในเบื้องต้นถึงโครงการที่จะดำเนินการ ชื่อโครงการควรเป็นชื่อที่ชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่าย

ผู้รับผิดชอบโครงการ: เป็นการบ่งบอกหัวหน้าโครงการหรือผู้ที่รับผิดชอบโครงการ ควรจะระบุชื่อบุคคล รวมทั้งตำแหน่งและหน้าที่ ไม่ควรระบุเป็นชื่อของหน่วยงานเพียงอย่างเดียวเพราะอาจเกิดความยากลำบากในการติดตามหาผู้รับผิดชอบโครงการ

หลักการและเหตุผล: เป็นการอธิบายถึงที่มา ปัญหา และเหตุจำเป็นที่จะต้องมีการจัดทำโครงการ โดยมีข้อมูลมาสนับสนุน นอกจากนั้นควรชี้แจงถึงผลที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการด้วย
วัตถุประสงค์: คือ สิ่งที่ต้องการจะได้รับหรือผลงานที่ได้จากการดำเนินโครงการ โดยวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องสอดคล้องกับภารกิจขององค์กรด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่มีความเฉพาะเจาะจง

เป้าหมาย: คือ ผลลัพธ์สุดท้ายที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการซึ่งเป็นการกำหนดในเชิงปริมาณหรือ

คุณภาพ และอาจจะเป็นจำนวนผู้ที่เข้าร่วมโครงการหรือจำนวนผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการก็ได้

วิธีดำเนินการ: เป็นสิ่งที่ระบุถึงลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมย่อยต่างๆ ของโครงการ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

ระยะเวลาดำเนินการ: เป็นการบ่งบอกถึงระยะเวลาการดำเนินโครงการที่ตั้งไว้ โดยมีจุดบอกเวลาตั้งแต่เริ่มต้นและสิ้นสุด

งบประมาณ: เป็นการประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการ โดยอาจจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ เช่น ค่าดำเนินโครงการ ค่าบริหารจัดการโครงการ ค่าติดตามและประเมินผลเป็นต้น นอกจากนั้นยังต้องระบุแหล่งที่มาของงบประมาณที่ได้รับด้วยว่ามาจากแหล่งใด

สถานที่: เป็นการระบุสถานที่หรือพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ โดยจำเป็นต้องระบุให้ชัดเจนและเจาะจง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ: คือสิ่งที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมถ้าดำเนินโครงการอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยต้องระบุให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

การประเมินผล: เป็นการระบุวิธีการประเมินหรือประเด็นที่ควรประเมิน เพื่อจะได้ทราบว่าโครงการที่จัดทำนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่


การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

ทำให้รู้จักส่วนประกอบของโครงการ และสามารถดำเนินการตามส่วนประกอบทั้งหมดได้

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9
วันที่ 3 ตุลาคม2559
08:30 - 11:00 น

เนื้อหาที่เรียน


นำเสนองานวิจัยทั้ง 4 กลุ่ม
กลุ่มที่หนึ่ง   การพัฒนาหลักสูตรสู่การฝึกอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสำหรับผู้ปกครองจังหวัดมหาสารคาม
กลุ่มที่สอง   การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบโฟนิกส์
กลุ่มที่สาม   ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่สี่       การศึกษาความสัมพันธ์คุณลักษณะผู้ปกครองกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโรงเรียนกุ๊กไก่




การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

สามารถออกแบบการให้ความรู้จากแผ่นพับได้

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%



วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันที่ 19 กันยายน 2559

เนื้อหาที่เรียน

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน

เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
  • รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
  • พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
  • กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
  • เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
  • ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น

                                          

จดหมายข่าวและกิจกรรม
เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
- ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
- กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
- ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม
- วิธีการบรรยาย


ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
- ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
-  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
- ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
- ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
- กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ




การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน

รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา

ห้องสมุดผู้ปกครอง
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
- ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
- ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
- ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
- ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
- กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
- ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น



นิทรรศการ
เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
- นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
- นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
- นิทรรศการเพื่อความบันเทิง

มุมผู้ปกครอง
เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ 
- เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
- เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
- เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ

การประชุม
เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
- เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
- แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
- ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
- สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ


จุลสาร
เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
- เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ - จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
- ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม - ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
- ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง

คู่มือผู้ปกครอง
เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
- ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
- หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
- บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
- อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
- การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
- กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
- การวัดและประเมินผล


ระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป  (WWW.)  การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป  บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์ สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
- ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา - เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
- สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก
- กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
- คำถามของผู้ปกครอง 

และด้ออกแบบแผ่นพับสารรักอย่างคร่าวๆ

คำถามท้ายบท

1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ตอบ   ข่าวสารประจำสัปดาห์  เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
จดหมายข่าวและกิจกรรม  เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ 
 ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง  จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
การสนทนา  การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น 

2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  ป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
ห้องสมุดผู้ปกครอง
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
นิทรรศการ
เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษา
มุมผู้ปกครอง
เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู
การประชุม
เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์
จุลสาร
เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์
คู่มือผู้ปกครอ
เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป
ระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป  (WWW.)  การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป  บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษา

3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย
ตอบ  แนวทางแก้ปัญหาคือส่งจุลสารหรือการสนทนากับผู้ปกครองทางโทรศัพท์เพื่อให้ความรู้ได้

4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย

5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ  ข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด

การประยุกต์และการนำไปใช้Knowledge application

สามารถนำข้อมูลที่ได้เรียนในวันนี้ไปเป็นแนวทางในการให้ความรู้ผู้ปกครองได้เพราะมีกิจกรรมที่หลากหลาย

ประเมินอาจารย์ Teacher
100%

ประเมินตนเอง my self
100%

ประเมินเพื่อน my friend
100%

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันที่ 12 กันยายน 2559
08:30 - 11:00 น

งดการเรียนการสอน
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 8 สิงหาคม2559
08:30 - 11:00 น

เนื้อหาที่เรียน

บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเทศไทย

โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก

โครงการ แม่สอนลูก
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

 เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ

  • วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
  • วิธีการสนทนากลุ่ม
  • วิธีอภิปรายกลุ่ม
  • วิธีการบรรยาย

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย 


โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”

 เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด 
มีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
  • ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
  • ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
  • สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
  •  กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก 

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

วัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย  โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรสระหว่างตั้งครรภ์ ทำคลอด และหลังคลอดจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ 


โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
  • โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล

  • โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)

  • โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี

  • โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก

  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 

  • โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)

  • โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)

  • โครงการ Brooklyne Early Childhood

  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์

  • โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์ 

  • โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

  • โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

  • โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)

  • โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย

  • โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)


คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ การทำแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในด้านต่างๆ

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างของ องค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
 ตอบ 
  • เรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาโดยผ่านการเล่นม่ใช่การอ่านเขียน
  • การให้กำลังใจลูกหรือพูดกับลูกให้ถูกวิธีและสถานการณ์
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเล็กๆในครอบครัวเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นในวัยเด็ก
  • การพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจลูกอย่างถูกวิธี

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร         จงอธิบาย
ตอบ ผู้ปกครองสามรนำไปปรับใช้กับตัวเด็กได้เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กและผู้ปกครองก็สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองในด้านความคิดและทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็กได้

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การทำตัวให้ผู้ปกครองไว้วางใจก่อนเป็นอันดับแรกและติดตามผลโดยการโทรสอบถามหรือการทำบันทึกพัฒนาการให้ผู้ปกครองได้บอกกับครูผ่านถางสมุดบันทึก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นแบบอย่างในการให้ความรู้กับผู้ปกครองในอนาคต

การประเมินตนเอง
100%
ประเมินเพื่อน
100%
ปรพเมินอาจารย์
100%
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 5 กันยายน 2559
08:30 - 11:00 น

เนื้อหาที่เรียน

บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเทศไทย

โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก


โครงการ แม่สอนลูก
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

 เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ

  • วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
  • วิธีการสนทนากลุ่ม
  • วิธีอภิปรายกลุ่ม
  • วิธีการบรรยาย

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย 


โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”

 เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด 
มีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
  • ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
  • ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
  • สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
  •  กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก 

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

วัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย  โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรสระหว่างตั้งครรภ์ ทำคลอด และหลังคลอดจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ 


โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
  • โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล

  • โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)

  • โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี

  • โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก

  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 

  • โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)

  • โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)

  • โครงการ Brooklyne Early Childhood

  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์

  • โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์ 

  • โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

  • โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

  • โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)

  • โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย

  • โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)


คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ การทำแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในด้านต่างๆ

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างของ องค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
 ตอบ 
  • เรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาโดยผ่านการเล่นม่ใช่การอ่านเขียน
  • การให้กำลังใจลูกหรือพูดกับลูกให้ถูกวิธีและสถานการณ์
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเล็กๆในครอบครัวเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นในวัยเด็ก
  • การพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจลูกอย่างถูกวิธี

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร         จงอธิบาย
ตอบ ผู้ปกครองสามรนำไปปรับใช้กับตัวเด็กได้เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กและผู้ปกครองก็สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองในด้านความคิดและทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็กได้

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การทำตัวให้ผู้ปกครองไว้วางใจก่อนเป็นอันดับแรกและติดตามผลโดยการโทรสอบถามหรือการทำบันทึกพัฒนาการให้ผู้ปกครองได้บอกกับครูผ่านถางสมุดบันทึก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นแบบอย่างในการให้ความรู้กับผู้ปกครองในอนาคต

การประเมินตนเอง
100%
ประเมินเพื่อน
100%
ปรพเมินอาจารย์
100%

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันที่ 29  สิงหาคม 2559
08:30 - 11:00 น


เนื้อหาที่เรียน




ความหมายของการสื่อสาร

  • การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
  • การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

ความสำคัญของการสื่อสาร

  1. ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
  2. ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
  3. ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
  4. ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
  5. ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบการสื่อสาร

รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล

ผู้พูด ➤ คำพูด ➤ ผู้ฟัง


รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล 




รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ 


รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ 



รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล  



องค์ประกอบของการสื่อสาร

1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

สื่อ

ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ 

สาร

คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา 
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง 
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ 

ประเภทของการสื่อสาร
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
  1. การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) 
  2. การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)

2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
  1. การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) 
  2. การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) 

3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
  1. การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
  2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
  3. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) 


ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1.  เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  2. เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  3. มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  4. เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  5. เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  6. ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  7. เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

ปัจจัย 7 ประการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
  • ความพร้อม
  • ความต้องการ
  • อารมณ์และการปรับตัว
  • การจูงใจ
  • ความถนัด
  • ทัศนคติและความสนใจ
  • การเสริมแรง

7 c กับการสื่อสารที่ดี

Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ 
Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ



ตอบคำถามท้ายบท




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการให้ความรู้กับผู้ปกครองซึ่งถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไปจะทำให้ไม่ครบองค์ประกอบของการสื่อสารและทำให้เราได้ปรับใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครองได้ในอนาคต


ประเมินตนเอง
100%
ประเมินเพื่อน
100%
ประเมินอาจารย์
100%
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันที่ 22  สิงหาคม 2559
08:30 - 11:00 น.




งดการเรียนการสอน



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันที่ 15  สิงหาคม 2559
08:30 - 11:00 น.


เนื้อหาที่เรียน

สรุปความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ พ่อแม่ได้เตรียมตัวให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้

1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน


รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย


จากรูปแบบดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)

2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก    การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง

3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง 


แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

 Linda  Bierstecker,1992
การวางแผน►ดำเนินการประชุม►ประเมินผลการประชุม►การออกจดหมายข่าวผลประชุม


บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

บทบาทของผู้ใฝ่หาความรู้
  • การเป็นผู้ริเริ่ม – ผู้นำ
  • การให้ข้อเท็จจริง
  • การอธิบายความหมายเพิ่มเติม
  • การถาม
  • การแสดงความคิดเห็น
  • การสรุป

บทบาทของสมาชิกกลุ่มที่ดี
  •  การสนับสนุนให้กำลังใจการประนีประนอม
  •  การเป็นผู้ฟังที่ดี
  •  การเป็นผู้ถามที่ดี
  •  การสังเกตและการจดบันทึกข้อมูล

แนวปฏิบัติของสถานศึกษา

1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับไปเรียนกับการให้ความรู้กับผู้ปกครองในการเป็นครูได้

ประเมินตนเอง
100%
ประเมินเพื่อน
100%
ประเมินอาจารย์
100%