Leaf

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6
วันที่ 12 กันยายน 2559
08:30 - 11:00 น

งดการเรียนการสอน
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 8 สิงหาคม2559
08:30 - 11:00 น

เนื้อหาที่เรียน

บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเทศไทย

โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก

โครงการ แม่สอนลูก
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

 เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ

  • วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
  • วิธีการสนทนากลุ่ม
  • วิธีอภิปรายกลุ่ม
  • วิธีการบรรยาย

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย 


โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”

 เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด 
มีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
  • ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
  • ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
  • สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
  •  กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก 

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

วัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย  โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรสระหว่างตั้งครรภ์ ทำคลอด และหลังคลอดจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ 


โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
  • โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล

  • โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)

  • โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี

  • โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก

  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 

  • โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)

  • โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)

  • โครงการ Brooklyne Early Childhood

  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์

  • โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์ 

  • โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

  • โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

  • โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)

  • โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย

  • โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)


คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ การทำแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในด้านต่างๆ

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างของ องค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
 ตอบ 
  • เรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาโดยผ่านการเล่นม่ใช่การอ่านเขียน
  • การให้กำลังใจลูกหรือพูดกับลูกให้ถูกวิธีและสถานการณ์
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเล็กๆในครอบครัวเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นในวัยเด็ก
  • การพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจลูกอย่างถูกวิธี

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร         จงอธิบาย
ตอบ ผู้ปกครองสามรนำไปปรับใช้กับตัวเด็กได้เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กและผู้ปกครองก็สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองในด้านความคิดและทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็กได้

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การทำตัวให้ผู้ปกครองไว้วางใจก่อนเป็นอันดับแรกและติดตามผลโดยการโทรสอบถามหรือการทำบันทึกพัฒนาการให้ผู้ปกครองได้บอกกับครูผ่านถางสมุดบันทึก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นแบบอย่างในการให้ความรู้กับผู้ปกครองในอนาคต

การประเมินตนเอง
100%
ประเมินเพื่อน
100%
ปรพเมินอาจารย์
100%
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5
วันที่ 5 กันยายน 2559
08:30 - 11:00 น

เนื้อหาที่เรียน

บทที่ 4 โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ

โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ในประเทศไทย

โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
- จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
- เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก


โครงการ แม่สอนลูก
- เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
- มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย

 เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ

  • วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
  • วิธีการสนทนากลุ่ม
  • วิธีอภิปรายกลุ่ม
  • วิธีการบรรยาย

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย 


โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”

 เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด 
มีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
  • ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
  • ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
  • สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
  •  กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น
โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)
 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก 

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

วัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคมไทย  โดยจะให้การรักษาดูแลสุขภาพร่างกายให้แก่คู่สมรสระหว่างตั้งครรภ์ ทำคลอด และหลังคลอดจะให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงดูและการดูแลทารกด้วยนมแม่ 


โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
  • โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล

  • โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)

  • โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี

  • โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก

  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา

  • โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 

  • โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)

  • โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)

  • โครงการ Brooklyne Early Childhood

  • โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์

  • โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์ 

  • โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

  • โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

  • โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)

  • โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย

  • โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)


คำถามท้ายบท

1. ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาเด็กตั้งแต่เด็กปฐมวัย

2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ การทำแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในด้านต่างๆ

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างของ องค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
 ตอบ 
  • เรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการทางสติปัญญาโดยผ่านการเล่นม่ใช่การอ่านเขียน
  • การให้กำลังใจลูกหรือพูดกับลูกให้ถูกวิธีและสถานการณ์
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเล็กๆในครอบครัวเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นในวัยเด็ก
  • การพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจลูกอย่างถูกวิธี

4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร         จงอธิบาย
ตอบ ผู้ปกครองสามรนำไปปรับใช้กับตัวเด็กได้เพื่อพัฒนาการที่ดีของเด็กและผู้ปกครองก็สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองในด้านความคิดและทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็กได้

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ การทำตัวให้ผู้ปกครองไว้วางใจก่อนเป็นอันดับแรกและติดตามผลโดยการโทรสอบถามหรือการทำบันทึกพัฒนาการให้ผู้ปกครองได้บอกกับครูผ่านถางสมุดบันทึก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปเป็นแบบอย่างในการให้ความรู้กับผู้ปกครองในอนาคต

การประเมินตนเอง
100%
ประเมินเพื่อน
100%
ปรพเมินอาจารย์
100%

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันที่ 29  สิงหาคม 2559
08:30 - 11:00 น


เนื้อหาที่เรียน




ความหมายของการสื่อสาร

  • การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ 
  • การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

ความสำคัญของการสื่อสาร

  1. ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม 
  2. ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
  3. ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
  4. ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
  5. ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบการสื่อสาร

รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล

ผู้พูด ➤ คำพูด ➤ ผู้ฟัง


รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล 




รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ 


รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ 



รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล  



องค์ประกอบของการสื่อสาร

1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

สื่อ

ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ 

สาร

คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา 
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง 
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ 

ประเภทของการสื่อสาร
1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร

1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
  1. การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) 
  2. การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)

2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
  1. การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) 
  2. การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) 

3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
  1. การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
  2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
  3. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) 


ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1.  เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
  2. เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
  3. มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
  4. เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
  5. เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
  6. ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
  7. เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

ปัจจัย 7 ประการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
  • ความพร้อม
  • ความต้องการ
  • อารมณ์และการปรับตัว
  • การจูงใจ
  • ความถนัด
  • ทัศนคติและความสนใจ
  • การเสริมแรง

7 c กับการสื่อสารที่ดี

Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ 
Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ



ตอบคำถามท้ายบท




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการให้ความรู้กับผู้ปกครองซึ่งถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไปจะทำให้ไม่ครบองค์ประกอบของการสื่อสารและทำให้เราได้ปรับใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครองได้ในอนาคต


ประเมินตนเอง
100%
ประเมินเพื่อน
100%
ประเมินอาจารย์
100%
บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3
วันที่ 22  สิงหาคม 2559
08:30 - 11:00 น.




งดการเรียนการสอน



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2
วันที่ 15  สิงหาคม 2559
08:30 - 11:00 น.


เนื้อหาที่เรียน

สรุปความหมายของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง

สรุปได้ว่า การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพราะเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันครอบครัว การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองถือเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมมีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายในสังคมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในสังคม ทั้งในและนอกระบบ พ่อแม่ได้เตรียมตัวให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการในการดูแล อบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการพัฒนาตนต่อไปในอนาคต

การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญที่มีต่อการศึกษาเด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้

1. เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก
2. เป็นการให้ผู้ปกครองได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการศึกษาของเด็ก
3. ทำให้ลดความขัดแย้งในการดำเนินงานทางการศึกษา ช่วยให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
5. ช่วยทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแรง

การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองโดยสรุปมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กและให้การศึกษาแก่เด็ก
2. เพื่อให้ความรู้และวิธีการในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่เด็ก
3. เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการศึกษาของเด็กที่โรงเรียนเพื่อให้ที่บ้านเข้าใจตรงกัน
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้แก่บุตรหลาน
5. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรู้และเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลาน


รูปแบบในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

- การให้ความรู้แบบทางการ (formal)  เช่น การบรรยาย  การอภิปราย การโต้วาที ฯลฯ
- การให้ความรู้แบบไม่เป็นทางการ (informal) เช่น การระดมสมอง การประชุมโต๊ะกลม การประชุมกลุ่มย่อย


จากรูปแบบดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปออกเป็นลักษณะของฐานการเรียนรู้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1. การใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนรู้ (home base) เป็นการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครองถึงที่บ้าน เช่น การเยี่ยมบ้าน การส่งจดหมาย เอกสารถึงบ้าน การจัดทำโฮมสคูล (Home School)

2. การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการเรียนรู้ (school base) เป็นการจัดกิจกรรมความรู้ให้ผู้ปกครองที่โรงเรียน เช่น การจัดแสดงผลงานเด็ก    การประชุม การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดมุมผู้ปกครอง

3. การใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ (community vase) เป็นการเผยแพร่ความรู้ผ่านชุมชน เช่น หมู่บ้าน วัด โบสถ์ มัสยิด วิทยุ โทรทัศน์ ระบบอินเตอร์เน็ต วารสาร นิตยสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมที่จัดโดยผ่านชุมชนประเภทต่างๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับสภาพทางครอบครัว สังคม และวัฒนธรรมของตนเอง 


แนวทางการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

 Linda  Bierstecker,1992
การวางแผน►ดำเนินการประชุม►ประเมินผลการประชุม►การออกจดหมายข่าวผลประชุม


บทบาทของผู้ปกครองในการร่วมกิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

บทบาทของผู้ใฝ่หาความรู้
  • การเป็นผู้ริเริ่ม – ผู้นำ
  • การให้ข้อเท็จจริง
  • การอธิบายความหมายเพิ่มเติม
  • การถาม
  • การแสดงความคิดเห็น
  • การสรุป

บทบาทของสมาชิกกลุ่มที่ดี
  •  การสนับสนุนให้กำลังใจการประนีประนอม
  •  การเป็นผู้ฟังที่ดี
  •  การเป็นผู้ถามที่ดี
  •  การสังเกตและการจดบันทึกข้อมูล

แนวปฏิบัติของสถานศึกษา

1. รับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกที่ผู้ปกครองมีกับลูก
2. ขณะที่พูดคุยกับผู้ปกครองเด็ก ไม่ใช้เป็นการพูดถึงเด็กในทางที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ควรพูดถึงในสิ่งที่ดีที่เด็กสามารถพัฒนาขึ้นมาก
3. ควรหลีกเลี่ยงคำอธิบายหรือใช้คำศัพท์ทางวิชาการในการอธิบายพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับไปเรียนกับการให้ความรู้กับผู้ปกครองในการเป็นครูได้

ประเมินตนเอง
100%
ประเมินเพื่อน
100%
ประเมินอาจารย์
100%